โครงการ การพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา
ในประเทศไทย

"ชุดโครงการชุดโครงการเมืองยั่งยืน "

โครงการ การพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

(Developing a Sustainability Evaluation Mechanism for Institutions of Higher Education in Thailand)

หัวหน้าโครงการ : อ.ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ร่วมวิจัย

  • ผศ. อลิษา สหวัชรินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ดร.สัณห์ รัฐวิบูลย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต รองศาสตราจารย์/รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทสรุปย่อผู้บริหาร

-

-

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) (ที่เกี่ยวข้องกับโจทย์วิจัย, ประเด็นวิจัย, input, และ outputs ในระยะต่าง ๆ)
ต้นน้ำ : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลางน้ำ : สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย และเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย
ปลายน้ำ : นักศึกษา บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. เพื่อพัฒนาระบบการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาที่มีความยืดหยุ่น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบท ความหลากหลายของสถาบันอุดมศึกษาใน ประเทศไทย ได้แก่ สถาบันขนาดเล็ก กลางและใหญ่ รวมทั้งสถานที่ตั้งทั้งในเมืองและนอกเมือง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อให้ได้สถาบันอุดมศึกษานำร่องระบบการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนของโครงการ อย่างน้อย 4 สถาบัน ภายในระยะเวลา 4 เดือน เพื่อนำบทเรียนที่ได้มาปรับปรุงระบบฯ ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
  3. เพื่อเผยแพร่ระบบการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาของโครงการสู่สาธารณะ โดยพัฒนาเว็บไซต์นำเสนอแนวทาง วิธีการและผลลัพธ์ของเครื่องมือ รวมทั้งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่สถาบันอุดมศึกษาเครือข่าย จำนวน 4 ครั้ง ประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษารวมไม่น้อยกว่า 20 สถาบัน ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสิ้นสุดการวิจัย

  1. Output
    1.1 ระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถาบันอุดมศึกษาในหลายบริบท เช่น สถาบันอุดมศึกษาขนาดเล็ก กลางและใหญ่ รวมทั้งสถานที่ตั้งในเมืองและนอกเมือง เกิดประโยชน์ต่อ การวางแผนยุทธศาสตร์และมาตรการของสถาบันฯ มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
    1.2 เว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์นำเสนอแนวทาง วิธีการและผลลัพธ์ของระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาของโครงการโดยเป็นแกนสำคัญในการประชาสัมพันธ์ให้สถาบันและหน่วยงานต่างๆ เข้ามาศึกษาและนำระบบไปเป็นแนวทาง การวางแผนยุทธศาสตร์และมาตรการของสถาบันฯ
    1.3 ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำในต่างประเทศ อย่างน้อย 1 เรื่องภายใน 2 ปี
  2. Output
    2.1 แนวทางการพัฒนาเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ยั่งยืนของประเทศไทย ตามแนวทางแผน/ยุทธศาสตร์ของประเทศ เพื่อให้สถาบันฯ ทั่วประเทศสามารถนำไปประเมินเองและเห็นจุดแข็ง จุดอ่อน ช่องว่างและอุปสรรคขององค์กร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร
    2.2 ความเข้าใจถึงปัจจัยสนับสนุนและความท้าทายของการพัฒนาความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนาปรับปรุงได้อย่างบูรณาการ
  3. Impact
    3.1 ผู้บริหารสถาบันฯ สามารถนำระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาจากงานวิจัยนี้ไปปฏิบัติใช้จริง